HOME > วีซ่าผู้พำนักระยะยาว

定住者ビザ
วีซ่าผู้พำนักระยะยาว

定住者ビザ
วีซ่าผู้พำนักระยะยาว

定住者ビザのよくある事例としては2つ考えらます。

ตัวอย่างที่มีมากของวีซ่าผู้พำนักระยะยาวมี 2 แบบด้วยกัน

●まず1つは、เริ่มจากแบบที่ 1
日本人と国際結婚した外国人配偶者の「連れ子」を本国から呼び寄せる場合です。

กรณีที่คู่สมรสชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่นพา “ลูกติด” มาจากประเทศของตนเอง

 

●2つ目は、แบบที่ 2
「日本人の配偶者等」の外国人が日本人と離婚か、死別した場合にそのまま日本にいたいので「定住者ビザ」に変更する場合、

กรณีที่ชาวต่างชาติที่เป็น “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” หย่ากับคนญี่ปุ่น หรือคนญี่ปุ่นเสียชีวิตแต่ยังต้องการอยู่ที่ญี่ปุ่นต่อ จึงเปลี่ยนวีซ่าเป็น “วีซ่าผู้พำนักระยะยาว”

 

それぞれ説明していきたいと思います。

ต่อไปจะอธิบายแต่ละกรณี

 

まず1つ目の、日本人と国際結婚した外国人配偶者の「連れ子」を本国から呼び寄せる場合です。

เริ่มจากกรณีที่ 1 คู่สมรสชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่นพา “ลูกติด” มาจากประเทศของตนเอง

 

外国人配偶者が日本人と結婚する前の、前の配偶者との間にできた子供が母国にいて、その子を日本に呼び寄せる場合です。

คู่สมรสชาวต่างชาติมีลูกที่เกิดกับคู่สมรสคนก่อนที่ประเทศของตนเองก่อนจะแต่งงานกับคนญี่ปุ่นและต้องการพาลูกมาอยู่ที่ญี่ปุ่น

この場合に条件となるのは、子供が未成年で、未婚であることが条件です。ですので20歳以上になっている場合は定住者ビザでは日本に呼べません。また、基本的に子供の年齢が高くなるほど呼び寄せは難しくなります。

ในกรณีนี้มีเงื่อนไขคือเด็กต้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังไม่ได้แต่งงาน ดังนั้นถ้าอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปก็จะไม่สามารถพามาญี่ปุ่นได้ด้วยวีซ่าผู้พำนักระยะยาว นอกจากนี้โดยพื้นฐานแล้วยิ่งเด็กอายุมากเท่าใดก็ยิ่งพามาอยู่ด้วยยากขึ้นเท่านั้น

一般的に、高校卒業の年齢、18歳になった子どもは、まだ未成年ですが自分で生活できる能力がある判断されやすく不許可になりやすい側面があります。

โดยทั่วไปเด็กที่อายุ 18 ปีอยู่ในวัยที่ควรจบการศึกษาระดับมัธยมปลายแล้ว แม้จะยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะถูกประเมินว่าสามารถใช้ชีวิตด้วยตนเองได้จึงมักจะไม่ได้วีซ่า


では2つ目ですが「日本人の配偶者」を持っている外国人が日本人と離婚か、死別した場合に、そのまま日本にいたいので「定住者」に変更する場合ですね。

ต่อไปเป็นกรณีที่ 2 ชาวต่างชาติที่เป็น “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” หย่ากับคนญี่ปุ่นหรือคนญี่ปุ่นเสียชีวิตแต่ยังต้องการอยู่ที่ญี่ปุ่นต่อ จึงเปลี่ยนวีซ่าเป็น “วีซ่าผู้พำนักระยะยาว”

 

この場合ポイントになるのは、日本国籍の子供がいるかいないかです。日本国籍の子供がいない場合は、同居した結婚期間が最低3年以上必要です。日本国籍の子供がいる場合は、結婚期間が1年程度でも可能性はあります。日本で日本国籍の子供と同居し養育することです。もし、子供を本国の親に預ける場合は、子供の養育を理由とした定住者へ変更はできません。

ประเด็นสำคัญในกรณีนี้อยู่ที่มีลูกสัญชาติญี่ปุ่นหรือไม่ ถ้าไม่มีลูกสัญชาติญี่ปุ่นก็จะต้องมีช่วงเวลาที่แต่งงานและอยู่กินกันอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป ถ้ามีลูกที่มีสัญชาติญี่ปุ่นแม้จะมีระยะเวลาที่อยู่กินกันเพียงประมาณ 1ปีก็สามารถขอวีซ่าเพื่อให้สามารถอยู่เลี้ยงดูลูกที่มีสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นได้ ถ้านำเด็กไปฝากไว้กับพ่อแม่ในประเทศของตนก็จะไม่สามารถใช้การเลี้ยงดูลูกเป็นเหตุผลในการขอเปลี่ยนเป็นวีซ่าผู้พำนักระยะยาวได้

 

定住者ビザは就労制限がないので、どんな職種でも働くことができます。ビザ取得に学歴なども関係ありません。

วีซ่าผู้พำนักระยะยาวไม่มีข้อจำกัดเรื่องการทำงาน สามารถทำงานได้ทุกประเภท และประวัติการศึกษาก็ไม่เกี่ยวข้องกับการขอวีซ่า

 

定住者ビザに関するよくある質問 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวีซ่าผู้พำนักระยะยาว

◇「日本人の配偶者等」から「定住者」への変更
日本人と結婚をしていて「日本人の配偶者等」のビザを持っていた方が、日本人と離婚した場合にビザをどうするか?という問題が発生します。その場合によくある質問としては、「私は離婚してもこのまま日本にいることはできるでしょうか?」という質問です。
答えとしては、日本人と結婚して「日本人の配偶者等」のビザで3年以上在留していたのであれば、離婚しても「定住者ビザ」への変更ができます。
離婚後に「定住者」に変更して日本に残りたい場合は、現在の収入の証明や、今後日本でどのように生活していくのか、なぜ日本に残りたいのか、など理由書に合理的・説得的に記載して申請をする必要があります。

◇การเปลี่ยนจาก “วีซ่าคู่สมรสของคนญี่ปุ่น” ไปเป็น “ผู้พำนักระยะยาว”

ถ้าแต่งงานกับคนญี่ปุ่น ถือวีซ่า “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” ในกรณีที่หย่ากับคนญี่ปุ่นก็จะเกิดปัญหาว่าเรื่องวีซ่าจะทำอย่างไร คำถามที่พบบ่อยในกรณีนี้คือ “หย่าแล้วจะสามารถอยู่ในญี่ปุ่นต่อไปได้หรือไม่?” คำตอบคือถ้าแต่งงานกับคนญี่ปุ่นและอยู่ด้วยวีซ่า “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” มาแล้ว 3 ปีขึ้นไป แม้จะหย่าก็สามารถเปลี่ยนเป็น “วีซ่าผู้พำนักระยะยาว” ได้ ถ้าหลังหย่าแล้วต้องการอยู่ที่ญี่ปุ่นต่อโดยเปลี่ยนวีซ่าเป็น “ผู้พำนักระยะยาว” จะต้องยื่นคำร้องโดยแสดงหลักฐานรายได้ในปัจจุบัน ระบุในใบชี้แจงเหตุผลอย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรต่อไปในญี่ปุ่น เหตุใดจึงยังอยากอยู่ที่ญี่ปุ่น

 

ポイント สิ่งสำคัญ

・日本国籍の子供がいない場合は、同居した結婚期間が最低3年以上必要です。

・กรณีที่ไม่มีลูกสัญชาติญี่ปุ่น จะต้องมีระยะเวลาที่แต่งงานอยู่กินกันอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป

・日本国籍の子供がいる場合は、結婚期間が1年程度でも可能性はあります。

・กรณีที่มีลูกสัญชาติญี่ปุ่น แม้จะมีระยะเวลาที่แต่งงานอยู่กินกันเพียง 1 ปีก็สามารถขอได้

 

◇日本国籍の子供の養育を理由に「定住者」への変更

◇การเปลี่ยนเป็น “ผู้พำนักระยะยาว” โดยใช้การเลี้ยงดูลูกสัญชาติญี่ปุ่นเป็นเหตุผล

日本国籍の子供を養育している場合は「定住者」のビザへ変更が可能です。

この場合の定住者ビザへの変更の条件としては、「日本で日本国籍の子供と同居し養育すること」です。

ในกรณีที่มีการเลี้ยงดูลูกสัญชาติญี่ปุ่นก็สามารถเปลี่ยนวีซ่าเป็น “ผู้พำนักระยะยาว” ได้ เงื่อนไขในการเปลี่ยนเป็นวีซ่าผู้พำนักระยะยาวในกรณีนี้คือ “ต้องอยู่ร่วมกันและเลี้ยงดูลูกสัญชาติญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่น”

子供を本国の親に預ける場合は、子供(日本国籍)の養育を理由とした定住者へ変更は認めてもらえません。仮に子供が小さく働けない場合に生活保護を受けている場合でも、子供が少し大きくなって保育園に預けることができるようになったら自分で働いて生活することを考えているという内容を文書で説明することが必要です。

ในกรณีที่ฝากลูกไว้กับพ่อแม่ในประเทศของตนเองจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่าผู้พำนักระยะยาวโดยใช้เหตุผลเรื่องการเลี้ยงดูลูก (สัญชาติญี่ปุ่น) ได้ แม้จะได้รับเงินช่วยเหลือในกรณีที่ลูกยังเล็กไม่สามารถทำงานได้ แต่ก็จำเป็นต้องเขียนอธิบายรายละเอียดว่ามีความคิดที่จะทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเองอย่างไรเมื่อลูกโตพอที่จะนำไปฝากในสถานรับดูแลเด็ก

 

ポイント สิ่งสำคัญ

・日本国籍の子供がいる場合は、結婚期間が1年程度でも可能性はあります。

・ในกรณีที่มีลูกสัญชาติญี่ปุ่น แม้ระยะเวลาที่แต่งงานอยู่กินกันจะมีแค่ประมาณ 1 ปีก็สามารถขอวีซ่าผู้พำนักระยะยาวได้ได้

 

◇未成年の連れ子を呼ぶ

◇การนำลูกติดที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาอยู่ด้วย

「日本人の配偶者等」のビザをもつ外国人の方で、日本人と結婚する前、本国で結婚をしていた場合にその方のとの間に子供がいる場合があります。前の配偶者との間の子供(連れ子)を日本に呼べるか?という質問をいただくことがあります。

ชาวต่างชาติที่มีวีซ่า “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” บางครั้งก็มีกรณีที่มีลูกกับคู่สมรสคนที่เคยแต่งงานกันในประเทศของตนก่อนที่จะมาแต่งงานกับคนญี่ปุ่น คำถามคือจะสามารถนำลูกที่เกิดกับคู่สมรสคนก่อน (ลูกติด) มาอยู่ที่ญี่ปุ่นได้ด้วยหรือไม่?

答えは、その子が未成年で未婚であれば、「定住者」のビザで日本に呼ぶことが可能です。その場合、外国籍の子供は日本に来た後、学校はどうするのか、また日本人の夫はどのように養育に関わっていくのか(例えば養子にいれるのかどうかなど)、今後どのような計画があるのかを具体的に入国管理局に提示できれば許可になると思います。

คำตอบคือถ้าลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังไม่ได้แต่งงานก็สามารถพามาอยู่ญี่ปุ่นได้ด้วยวีซ่า “ผู้พำนักระยะยาว” ในกรณีนี้หลังจากเด็กชาวต่างชาติมาถึงญี่ปุ่นแล้ว เรื่องโรงเรียนจะทำอย่างไร และสามีคนญี่ปุ่นจะเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูอย่างไร (เช่นจะรับเป็นลูกบุญธรรมหรือไม่) ในอนาคตมีแผนการเช่นใด ถ้าสามารถชี้แจงเรื่องเหล่านี้ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้อย่างชัดเจนก็น่าจะได้รับวีซ่า

 

ポイント สิ่งสำคัญ

未成年(19歳まで)で、未婚であることが条件です。20歳以上は定住者で呼べません。
また子供の年齢が高くなるほど難易度が高くなります。

เงื่อนไขคือต้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่เกิน 19 ปี) และต้องยังไม่แต่งงาน ถ้าอายุ 20 ปีขึ้นไปจะไม่สามารถพามาอยู่ด้วยวีซ่าผู้พำนักระยะยาวได้ ยิ่งเด็กอายุมากขึ้นเท่าใดก็จะยิ่งยากขึ้นเท่านั้น

 

審査上の注意点 ข้อควรระวังเรื่องการตรวจสอบ

連れ子を日本に呼ぶ場合は、日本側の経済状況(扶養できる十分な資力があるか)が審査されます。また、連れ子に対する今までの扶養実績も厳しく審査されます。
例えば、今までまったく扶養していなかったのに、なぜ急に日本に呼ぶのかという疑問を持たれるので、これに十分回答することが必要です。
単に家計を助けるために、アルバイトできる年齢になったので日本で仕事をさせたいと考えて呼ぶのではないかと判断されがちですので、総判断されてしまえば不許可となります。

定住者ビザの申請では、今までの子供の養育に関する経緯の説明、養育の必要性、今後の養育・生活設計(例えば、日本で一定の期間扶養し、高い水準の教育を受けさせる)等を申請理由書で主張することがポイントとなります。また、扶養を受けて生活するという要件がある以上、基本的には、両親と住所は一致していることが前提となります。

กรณีที่ต้องการพาลูกของคู่สมรสเดิมมาอยู่ที่ญี่ปุ่นจะมีการตรวจสอบเรื่องสถานะด้านการเงินที่ญี่ปุ่นว่ามีกำลังทรัพย์พอจะเลี้ยงดูหรือไม่ (นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบเรื่องประวัติการเลี้ยงดูลูกติดที่ผ่านมาอย่างเข้มงวดอีกด้วย) เช่น ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนไม่เคยเลี้ยงดูเลย ก็จะเกิดข้อสงสัยได้ว่าทำไมอยู่ๆ จึงต้องการพามาญี่ปุ่น คำถามเหล่านี้จำเป็นจะต้องตอบให้ดี เพราะมีแนวโน้มที่จะถูกประเมินว่าต้องการพาลูกมาญี่ปุ่นเพราะอายุอยู่ในวัยที่ทำงานพิเศษได้แล้วจึงอยากให้มาทำงานเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในครอบครัว หากถูกประเมินเช่นนี้ก็จะไม่ได้วีซ่า
การขอวีซ่าผู้พำนักระยะยาวมีจุดสำคัญอยู่ที่การอธิบายความเป็นมาเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกในอดีต ความจำเป็นของการเลี้ยงดู การเลี้ยงดูและแผนการชีวิตในอนาคต (เช่น จะเลี้ยงดูที่ญี่ปุ่นระยะหนึ่งเพื่อให้ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานสูง) ลงในใบชี้แจงเหตุผลในการยื่นคำร้อง นอกจากนี้เนื่องจากเงื่อนไขที่เด็กจะต้องได้รับการเลี้ยงดู โดยพื้นฐานแล้วที่อยู่จึงต้องตรงกับของพ่อแม่

無料相談

ให้คำปรึกษาฟรี

ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับการยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหรือยื่นขอวีซ่า ขอแนะนำให้คุณลองมาปรึกษากับผู้รับรองเอกสารที่รู้เรื่องการยื่นขอวีซ่าโดยละเอียดดูก่อน การขอรับคำปรึกษาแต่เนิ่นๆ เป็นหัวใจสำคัญของการขอวีซ่าให้ผ่าน

สำนักงานกฎหมาย Samurai ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่า เราจะหาวิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของลูกค้าแต่ละรายและให้คำแนะนำไปตลอดเส้นทางจนกว่าจะได้รับวีซ่า

เราให้คำปรึกษาฟรี ลองมาปรึกษาเราสักครั้ง *การขอรับคำปรึกษาต้องจองล่วงหน้าเท่านั้น

電話で相談の申込みをする

ขอรับคำปรึกษาทางโทรศัพท์

Tokyo area: 03-5830-7919

Nagoya area: 052-446-5087

Osaka area: 06-6341-7260

受付時間内にご予約を頂ければ、夜間・土日もご相談を承ります。
受付時間:平日 9時~20時 / 土日 9時~18時 ※祝日,国民の休日,12月30日~1月3日は除く。

ถ้าจองภายในเวลาให้บริการ สามารถมาปรึกษาได้ทั้งตอนกลางคืนและวันเสาร์อาทิตย์ เวลาให้บริการ : วันธรรมดา 9:00-20:00 น. / วันเสาร์และอาทิตย์ 9.00-18.00 น. *ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดราชการ วันที่ 30 ธันวาคมถึง 3 มกราคม

Form Đăng kí qua mạng Internet