HOME > การขอโอนสัญชาติ (การขอสัญชาติญี่ปุ่น)

帰化申請(日本国籍取得)
การขอโอนสัญชาติ (การขอสัญชาติญี่ปุ่น)

帰化申請(日本国籍取得)
การขอโอนสัญชาติ (การขอสัญชาติญี่ปุ่น)

私は入管専門にして行政書士の仕事をしていますが、帰化の問い合わせが来ます。それはどんな問い合わせかと言うと、「私は帰化できますか?」という問い合わせです。

เรามีความเชี่ยวชาญในการรับรองเอกสารเรื่องการตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งบางครั้งก็จะได้รับการสอบถามเกี่ยวกับการโอนสัญชาติ คำถามที่ว่าก็คือ “จะโอนสัญชาติได้หรือไม่?”

 

みなさんは自分が帰化できるかどうか知りたいんですね。今帰化できるんだったら帰化したい、今はまだ帰化できないんだったら、どうすれば帰化できるのかを知りたい。あなたも同じではないでしょうか?帰化できるかどうかは「帰化の条件」を正しく理解する必要があります。その帰化の条件をこれから教えます。

ทุกคนคงอยากทราบว่าตนเองจะโอนสัญชาติได้หรือไม่ ถ้าโอนได้ก็อยากจะโอนเสียเดี๋ยวนี้ ถ้าตอนนี้ยังโอนไม่ได้ก็อยากรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะโอนได้ คุณก็คงเหมือนกันใช่ไหม? การที่จะโอนสัญชาติได้หรือไม่นั้นจำเป็นต้องทำความเข้าใจ “เงื่อนไขการโอนสัญชาติ” ให้ถูกต้องก่อน ต่อไปจะขอกล่าวถึงเรื่องเงื่อนไขในการโอนสัญชาติ

 

一般的な外国人の帰化申請の条件について説明したいと思います。「一般的な」というのは日本人と結婚していない外国人の方全部です。

เราจะอธิบายเงื่อนไขในการยื่นคำร้องขอโอนสัญชาติของชาวต่างชาติทั่วไป คำว่า “ทั่วไป” นั้นหมายถึงชาวต่างชาติทั้งหมดที่ไม่ได้แต่งงานกับคนญี่ปุ่น

 

独身の外国人の方や、外国人同士で結婚している方も【一般的な外国人】です。例えばベトナム人夫婦とか、ベトナム人と韓国人の夫婦とかですね。

ชาวต่างชาติที่เป็นโสด ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับชาวต่างชาติด้วยกันถือเป็น “ชาวต่างชาติทั่วไป” เช่น คู่สมรสชาวไทยหรือคู่สมรสชาวไทยกับเกาหลี

 

よく「家族全員で帰化しないとダメですか?」という質問をされますが、1人でも帰化できます。自分だけ帰化して、配偶者や子供は帰化しないということも大丈夫です。自分と子供は帰化して、配偶者は帰化しなくても大丈夫です。1人でも帰化申請できます。

เราได้รับคำถามบ่อยครั้งว่า “ต้องโอนสัญชาติทุกคนในครอบครัวหรือไม่?” แม้เพียงคนเดียวก็สามารถโอนสัญชาติได้ ตัวเองจะโอนสัญชาติเพียงคนเดียว ส่วนคู่สมรสและลูกไม่โอนสัญชาติก็ไม่เป็นไร ตัวเองกับลูกโอนสัญชาติแต่คู่สมรสไม่โอนสัญชาติก็ไม่เป็นไร เพียงคนเดียวก็สามารถยื่นคำร้องขอโอนสัญชาติได้

あと夫婦2 人で帰化したい場合に、1人は帰化の条件と満たしていて、1人は条件を満たしていない場合、1人が帰化条件を満たしていれば、配偶者は帰化の条件を満たしていなくても同時申請できることが多いです。なぜかというと1人が帰化許可になれば自動的に配偶者は日本人と結婚している外国人となります。日本人と結婚している外国人は帰化条件が緩和されています。だから申請の時に日本人と結婚している外国人の帰化申請の条件を満たしていればOKです。条件をみたしていれば2人同時に帰化申請できます。

ในกรณีที่คู่สมรสอยากโอนสัญชาติทั้ง 2 คน แต่คนหนึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการโอนสัญชาติ ส่วนอีกคนหนึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข แค่มี 1 คนที่เป็นไปตามเงื่อนไข แม้คู่สมรสจะไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการโอนสัญชาติก็สามารถยื่นเรื่องไปพร้อมกันได้ เพราะถ้า 1 คนได้รับอนุญาตให้โอนสัญชาติ คู่สมรสก็จะกลายเป็นชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่นไปโดยอัตโนมัติ และชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่นก็จะได้รับการผ่อนปรนเรื่องเงื่อนไขในการโอนสัญชาติ ดังนั้นตอนที่ยื่นคำร้องขอเพียงมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขการโอนสัญชาติสำหรับชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่นครบก็พอ ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ก็จะสามารถยื่นคำร้องขอโอนสัญชาติพร้อมกันทั้ง 2 คนได้

まず帰化申請の条件を確認してください。
ก่อนอื่นกรุณาตรวจสอบเงื่อนไขการยื่นคำร้องขอโอนสัญชาติดังนี้

●1番目は住居要件です。
●เงื่อนไขที่ 1 คือเรื่องการอยู่อาศัย

・引き続き5年以上日本に住所を有すること

・ต้องมีที่อยู่ในญี่ปุ่นติดต่อกัน 5 ปีขึ้นไป

これは簡単に言えば5年以上日本に住んでいますか?ということです。「継続して」です。
継続して5年以上です。「継続して」なので例えば3年日本に住んで、1年海外に行って、また2年日本に住んだ場合はダメです。「継続して」です。この場合は前の3年はカウントできませんので、後の2年とプラスしてこれから3年待たなければなりません。

เรื่องนี้พูดง่ายๆก็คืออยู่ที่ญี่ปุ่นมาแล้ว 5 ปีขึ้นไปหรือไม่ และต้องอยู่ “ต่อเนื่อง” ต้องอยู่ต่อเนื่อง 5 ปีขึ้นไป เนื่องจากต้อง “ต่อเนื่อง” ถ้าอยู่ที่ญี่ปุ่น 3 ปีไปต่างประเทศ 1 ปีและกลับมาอยู่ที่ญี่ปุ่นอีก 2 ปีจะถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะว่าต้อง “ต่อเนื่อง” ในกรณีนี้ 3 ปีแรกจะนำมานับไม่ได้ จะต้องนับจาก 2 ปีหลังดังนั้นจึงต้องรอไปอีก 3 ปี

 

あとは、仕事をしている期間が3年以上必要です。アルバイトではなくて社員です。正社員ですが、契約社員や派遣社員でも大丈夫です。就労ビザを取って3年以上働いていることが必要です。例えばこんな人は大丈夫です。

นอกจากนี้ก็ต้องทำงานมาแล้ว 3 ปีขึ้นไปในฐานะพนักงาน ไม่ใช่งานพิเศษ พนักงานที่ว่านี้ต้องเป็นพนักงานประจำ แต่จะเป็นพนักงานตามสัญญาจ้างหรือพนักงานตามสัญญาส่งตัวก็ไม่เป็นไร สิ่งที่จำเป็นคือต้องมีวีซ่าทำงานและทำงานมาแล้ว 3 ปีขึ้นไป ยกตัวอย่างที่ใช้ได้ก็เช่น

 

・留学生として2年、就職して3年、合計5年の人は大丈夫です。

・เป็นนักศึกษา 2 ปี ทำงานมา 3 ปี รวมแล้ว 5 ปีก็ถือว่าใช้ได้

 

次にこんな人は条件を満たしていません。

แต่ถ้าเป็นดังต่อไปนี้ถือว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไข

 

・留学生として5年、就職して2年、合計7年の人。

・เป็นนักศึกษา 5 ปี ทำงานมา 2 ปี รวมแล้ว 7 ปี


就職して3年以上必要ですので、あと1年必要です。

เนื่องจากต้องทำงาน 3 ปีขึ้นไป จึงต้องมีอีก 1 ปี

転職回数は多くても大丈夫ですが、転職したばかりでは帰化申請できません。転職後は最低でも1年経過は必要です。

ส่วนการย้ายงานบ่อยนั้นไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเพิ่งย้ายงานจะยื่นขอโอนสัญชาติเลยไม่ได้ ต้องรออย่างน้อย 1 ปีหลังจากที่ย้ายงาน

 

次に確認してほしいのが5年の中の出国日数です。海外出張とか帰国出産とか大震災の時の出国とかで1回3カ月以上の出国した人は注意が必要です。連続して3ヶ月間、日本を離れていると、それまでの居住歴はなくなり、ゼロからもう一度カウントをすることになります。あと1回の出国は3カ月より短くても、1年間で150日間日本を出国すると同じ結果になります。例えば2カ月、2カ月、2カ月、2カ月の4回だと1回は3カ月以内ですが、トータルで240日です。 これはダメです。

เรื่องต่อไปที่อยากให้ตรวจสอบคือจำนวนวันที่ออกนอกประเทศในช่วง 5 ปี ผู้ที่เดินทางออกนอกประเทศครั้งละ 3 เดือนขึ้นไป เช่น ไปทำงานในต่างประเทศ กลับประเทศของตนเองเพื่อไปคลอดลูก หรือออกนอกประเทศเนื่องจากเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรงจะต้องระมัดระวัง ถ้าออกจากญี่ปุ่นติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป ประวัติการพำนักที่ผ่านมาจะถูกตัดออก ทำให้ต้องเริ่มนับจากศูนย์ใหม่อีกครั้ง และถึงแม้การออกนอกประเทศหนึ่งครั้งจะน้อยกว่า 3 เดือน แต่ถ้าออกนอกประเทศญี่ปุ่นเกิน 150 วันใน 1 ปีก็จะได้รับผลเช่นเดียวกัน เช่น 2 เดือน, 2 เดือน, 2 เดือน, 2 เดือน รวม 4 ครั้ง และใน 1 ครั้งก็ไม่เกิน 3 เดือน แต่รวมแล้วได้ 240 วันก็ไม่ได้

 

1回3カ月以上についてですが、「会社の出張だから大丈夫ですか?」という質問が多いです。会社命令の出張でもダメです。「ビザは切れていないし、3カ月日本にいなかったですが、家賃はずっと払ってました。」と言ってもダメです。

เรามักจะได้รับคำถามบ่อยๆเกี่ยวกับเรื่องออกนอกประเทศ 1 ครั้งนานกว่า 3 เดือนว่า “บริษัทส่งไปทำงานไม่เป็นไรใช่มั้ย?” ถึงแม้จะเป็นคำสั่งให้ไปทำงานของบริษัทก็ไม่ได้ จะบอกว่า “วีซ่ายังไม่หมดอายุ ถึงจะไม่ได้อยู่ญี่ปุ่น 3 เดือนแต่ก็จ่ายค่าเช่าบ้านตลอด” ก็ไม่ได้

 

10年以上日本に住んでいる人は就労経験が1年以上あれば大丈夫です。

คนที่อยู่ญี่ปุ่น 10 ปีขึ้นไปแค่มีประสบการณ์ทำงาน 1 ปีขึ้นไปก็พอ

 

例えば留学生9年+就職して1年で合計10年とか、大丈夫です。10年以上住んでいれば就労1年でも大丈夫ですが、日本10年ない場合は必ず就労経験は3年以上必要です。

อย่างเช่นเป็นนักศึกษา 9 ปี+ทำงาน 1 ปี รวม 10 ปีก็ใช้ได้ ถ้าเคยอยู่ที่ญี่ปุ่น 10 ปีขึ้นไปจะมีประสบการณ์ทำงานแค่ 1 ปีก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าอยู่ญี่ปุ่นไม่ถึง 10 ปีจะต้องมีประสบการณ์ทำงาน 3 ปีขึ้นไป

 

日本人と結婚している外国人の方は要件が少し緩和されます。

ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่นจะได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไขเล็กน้อย

緩和されると言っても、手続きや書類が簡単になるわけではありません。手続き方法は同じですし、結婚して日本人の夫とか日本人の妻がいますので日本人の書類もいくつか集めなければなりませんので、独身の外国人よりも書類は多くなるとおもいます。

ถึงจะมีการผ่อนปรนแต่ก็ไม่ได้ทำให้ขั้นตอนหรือการเตรียมเอกสารเป็นเรื่องง่าย ขั้นตอนยังคงเหมือนเดิม และเพราะแต่งงานมีสามีหรือภรรยาเป็นคนญี่ปุ่นจึงต้องเตรียมเอกสารของคู่สมรสคนญี่ปุ่นอีกหลายอย่าง เอกสารที่ต้องเตรียมจึงมากกว่าชาวต่างชาติที่ยังไม่ได้แต่งงาน

帰化申請できる条件が簡単になるだけで、申請自体は全然簡単じゃないです。

แม้เงื่อนไขในการยื่นขอโอนสัญชาติจะง่ายขึ้นแต่การยื่นคำร้องไม่ได้ง่ายขึ้นเลย

①まず、日本人と結婚している外国人は住居要件が少し緩和されます。緩和される所は住居要件です。
ประการแรกชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่นจะได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไขเรื่องการอยู่อาศัยเล็กน้อย สิ่งที่ได้รับการผ่อนปรนคือเรื่องการอยู่อาศัย

通常、一般的な外国人の方の住居要件は5年以上日本に住んでいることですが、
日本人と結婚している外国人は、

・引き続き3年以上日本に住所を有し、現在も日本に住所を有していること

เงื่อนไขการอยู่อาศัยสำหรับชาวต่างชาติทั่วไปคือต้องอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น 5 ปีขึ้นไป
・แต่ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่น

ต้องมีที่อยู่ในญี่ปุ่นต่อเนื่อง 3 ปีขึ้นไปและปัจจุบันยังคงมีที่อยู่ในญี่ปุ่น

 

例えば留学生で3年日本に住んでいれば、日本人と結婚した時点で帰化の条件を満たします。留学生でも会社員でも構いませんけれども、3年以上日本に住んでいる外国人は日本人と結婚すれば帰化できます。結婚してから3年待つ必要はないです。結婚してから3年待たなければならないと誤解している人が多いですが、そうじゃないです。3年住んでいれば、日本人と結婚した時点でOKです。

ตัวอย่างเช่นนักศึกษาที่อยู่ในญี่ปุ่น 3 ปี เมื่อแต่งงานกับคนญี่ปุ่นก็จะเป็นไปตามเงื่อนไขการโอนสัญชาติทันที จะเป็นนักศึกษาหรือคนทำงานก็ได้ ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น 3 ปีขึ้นไปถ้าแต่งงานกับคนญี่ปุ่นก็จะโอนสัญชาติได้ ไม่จำเป็นต้องรอ 3 ปีหลังจากแต่งงาน มีคนจำนวนมากเข้าใจผิดว่าต้องรอ 3 ปีหลังจากแต่งงาน แต่ไม่ใช่เช่นนั้น ถ้าอาศัยอยู่ 3 ปีเมื่อแต่งงานกับคนญี่ปุ่นก็ขอได้ทันที

 

もうひとつ条件があります。

ยังมีเงื่อนไขอีกอย่างหนึ่ง

 

婚姻の日から3年を経過し、引き続き1年以上日本に住所を有していること

แต่งงานมาแล้ว 3 ปีและต้องมีที่อยู่ในญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง 1 ปีขึ้นไป

 

これは、日本に住んでいるのが1年しかなくても、結婚してから3年以上たっているなら帰化申請OKということです。例えば、海外で日本人と結婚した、例えば日本人がベトナムに住んでいて、ベトナム人と日本人がベトナムで結婚した場合です。日本人とベトナム人が結婚して2年ベトナムに住んで、日本に2人で引越ししました。それから1年日本に住めば帰化はOKです。

หมายความว่าถ้าอยู่ญี่ปุ่นเพียง 1 ปีแต่แต่งงานมาแล้ว 3 ปีขึ้นไปก็สามารถยื่นขอโอนสัญชาติได้ ตัวอย่างเช่น แต่งงานกับคนญี่ปุ่นในต่างประเทศ เช่นคนญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในไทย คนไทยกับคนญี่ปุ่นแต่งงานกันที่ไทย โดยหลังแต่งงานคนญี่ปุ่นกับคนไทยอาศัยอยู่ที่ไทย 2 ปี จากนั้นทั้ง 2 คนก็ย้ายมาที่ญี่ปุ่น ถ้าอยู่ที่ญี่ปุ่นต่ออีก 1 ปีก็สามารถยื่นขอโอนสัญชาติได้

 

日本人と結婚していても過去にオーバーステイとかで、在留特別許可をとった人もいるかもしれません。こういう方は在留特別許可をとった日から10年以上たっていることが必要です。この場合は3年ではダメなので注意してください。

อาจมีบางรายที่แม้จะแต่งงานกับคนญี่ปุ่นแต่ในอดีตเคยอยู่เกินกำหนด (พำนักอยู่ในญี่ปุ่นต่อโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย) หรือได้รับอนุญาตให้พำนักเป็นกรณีพิเศษ ในกรณีเช่นนี้จะต้องผ่านไป 10 ปีขึ้นไปนับจากวันที่ได้รับอนุญาตให้พำนักเป็นกรณีพิเศษ เงื่อนไข 3 ปีจะใช้ไม่ได้ กรุณาระมัดระวัง

② 次は2番目の条件です。ต่อไปเป็นเงื่อนไขข้อที่ 2

・20歳以上であること

ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป

③ 3番目の条件は素行要件です。เงื่อนไขข้อที่ 3 เป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับพฤติกรรม

これは真面目な人かどうかです。きちんと税金を払っていること。前科がないこと。まず会社員の方は住民税の支払い状況が重要です。税金は配偶者の分も納税証明が必要です。自分は払っているけど配偶者は税金滞納しているとダメなので注意してください。

การดูว่าเป็นคนมีความประพฤติดีหรือไม่จะดูจากการจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง ไม่เคยถูกดำเนินคดี ประการแรกที่สำคัญสำหรับพนักงานบริษัทคือสภาพการจ่ายภาษีผู้อยู่อาศัย เรื่องภาษีนั้นจำเป็นต้องพิสูจน์เรื่องการจ่ายภาษีของคู่สมรสด้วย ถึงตัวเองจะจ่ายถูกต้อง แต่ถ้าคู่สมรสค้างการจ่ายภาษีก็ไม่ได้ กรุณาระมัดระวัง

住民税は会社から天引きされている方と、自分で役所に支払わなければならない方がいます。給与明細を見たときに住民税が天引きされていれば問題ありません。会社が住民税を天引きしていない場合もあります。そういう会社に勤めている人は自分で払わなければならないのですが、もちろん払っていれば何も問題はありません。時々住民税を払っていない方がいます。払っていなければ必ず未納の分は全部払って下さい。

บางคนจะถูกหักภาษีผู้อยู่อาศัยโดยทางบริษัท แต่บางคนก็ต้องไปจ่ายเองกับหน่วยงานราชการ ถ้าดูในใบรายละเอียดการจ่ายเงินเดือนแล้วมีการหักภาษีผู้อยู่อาศัยก็ไม่มีปัญหา แต่บางครั้งบริษัทก็ไม่ได้หักภาษีผู้อยู่อาศัย ผู้ที่ทำงานในบริษัทเช่นนี้จะต้องไปจ่ายด้วยตนเอง ซึ่งถ้าจ่ายครบก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่บางครั้งก็มีผู้ที่ไม่ได้จ่ายภาษีผู้อยู่อาศัย หากยังไม่ได้จ่ายขอให้จ่ายส่วนที่ค้างอยู่ทั้งหมด

住民税で注意してほしいのは扶養者です。自分の源泉徴収票を確認してください。例えば、妻や夫がアルバイトをしている場合に、扶養に入れている場合があります。扶養に入れれば自分の税金が安くなりますから。でもアルバイトの収入が年間130万以上だと扶養に入れることはできません。いれることはできなくても、時々入れていることがありますので、その時は修正申告が必要になります。また、本国の両親を扶養に入れている人は注意が必要です。本国の親を適法に扶養にいれても問題はないです。しかし、本当はお金を母国に送っていないのに扶養にいれていると問題になります。なぜなら国際送金記録の提出が必要になる場合が多いからです。

เรื่องภาษีผู้อยู่อาศัยที่ควรระมัดระวังคือผู้ที่อยู่ในความอุปการะ กรุณาตรวจสอบใบหักภาษี ณ ที่จ่ายของตนเองด้วย เช่น ในกรณีที่ภรรยาหรือสามีทำงานพิเศษ บางกรณีอาจถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในความอุปการะ ถ้ามีผู้ที่อยู่ในความอุปการะภาษีก็จะถูกลง แต่ถ้ารายได้จากงานพิเศษต่อปีมากกว่า 1 ล้าน 3 แสนเยนจะถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในความอุปการะไม่ได้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้แต่บางครั้งก็มีการระบุไว้เช่นนั้น ในกรณีนี้จำเป็นจะต้องส่งใบแสดงรายการภาษีที่แก้ไขใหม่ นอกจากนี้ผู้ที่อุปการะพ่อแม่ที่อยู่ในประเทศตนเองจะต้องระมัดระวังว่าถ้าการอุปการะพ่อแม่ในประเทศของตนเองเป็นไปตามกฎหมายก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าความจริงไม่ได้ส่งเงินกลับไปยังประเทศแม่แต่แจ้งว่าอยู่ในความอุปการะก็จะเกิดปัญหา เพราะมีหลายกรณีที่จำเป็นต้องนำส่งบันทึกการโอนเงินไปต่างประเทศ

 

会社経営者や個人事業主の方は個人の税金+会社の税金もちゃんと払っていることが必要です。

ผู้บริหารบริษัทหรือเจ้าของกิจการบุคคลธรรมดาจำเป็นต้องจ่ายภาษีบุคคลธรรมดา+ภาษีของบริษัทอย่างถูกต้องด้วย

④交通違反に注意 ระวังเรื่องการทำผิดกฎจราจร

運転免許を持ってない人はあまり関係ないと思いますが、交通違反は過去5年間の違反経歴を見られます。5年以上前の違反経歴は基本的に関係ありません。5年前から現在までの交通違反は何回ありますか? 5年間5回以内だったら大丈夫です。6回以上だと帰化が難しくなる場合もあります。

ผู้ที่ไม่มีใบขับขี่อาจไม่ค่อยเกี่ยวข้องนัก แต่จะมีการตรวจสอบประวัติการทำความผิดตลอด 5 ปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับการทำผิดกฎจราจร ประวัติการทำความผิดที่นานกว่า 5 ปีโดยพื้นฐานแล้วจะไม่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ 5 ปีก่อนถึงปัจจุบันคุณทำผิดกฎจราจรไปกี่ครั้งแล้ว?  ถ้าไม่เกิน 5 ครั้งภายใน 5 ปีก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิน 6 ครั้งในบางกรณีก็จะทำให้ขอโอนสัญชาติได้ยากขึ้น

交通違反以外で警察に捕まった人はとても少ないと思いますと思います。例えば街の中でケンカしたとか、万びきしたとか、でも裁判手続きをして刑が確定していなければ前科にならないケースも多いので不安な方はご相談ください。

เชื่อว่าคนที่จะถูกตำรวจจับเพราะสาเหตุอื่นนอกจากทำผิดกฎจราจรคงมีน้อยมาก เช่น การมีเรื่องทะเลาะวิวาทในเมือง การขโมยหยิบของ แต่ถ้าไม่ได้ผ่านกระบวนการขึ้นศาลจนถูกตัดสินลงโทษแล้วส่วนใหญ่ก็ไม่จะไม่มีประวัติอาชญากรรม ผู้ที่มีความกังวลในเรื่องนี้สามารถปรึกษาเราได้

⑤年金支払い状況 สภาพการจ่ายเงินบำนาญ

年金を払っているかどうかは帰化の許可ポイントです。会社で厚生年金に加入していて、給料から天引きされている人は何も問題ありませんが、厚生年金に入っていない会社もあると思います。そういう人は国民年金を払っている必要があります。外国人の方は全然払っていないという人も多いです。そういう人は最低でも過去1年分は払って下さい。とりあえず直近1年間の国民年金を払えば帰化申請は大丈夫です。1カ月1万8千円くらいですから1年だと20万くらいになります。

สิ่งสำคัญในการอนุญาตให้โอนสัญชาติอยู่ที่มีการจ่ายเงินบำนาญหรือไม่ ถ้าเข้ากองทุนเงินสวัสดิการบำนาญผ่านบริษัทและมีการหักจากเงินเดือนก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่บางบริษัทก็ไม่ได้เข้ากองทุนเงินสวัสดิการบำนาญ บุคคลในกรณีดังกล่าวจะต้องจ่ายเงินบำนาญแห่งชาติ ชาวต่างชาติจำนวนมากไม่ได้จ่ายเงินในส่วนนี้เลย กรณีนี้จะต้องจ่ายอย่างน้อยในส่วนของ 1 ปีที่ผ่านมา ถ้าจ่ายเงินบำนาญประชาชนอย่างน้อยของ 1 ปีล่าสุดก็สามารถยื่นคำร้องขอโอนสัญชาติได้ เดือนละประมาณ 18,000 เยน เพราะฉะนั้น 1 ปีก็เท่ากับประมาณ 2 แสนเยน

会社経営者の方は、会社として必ず厚生年金と健康保険に加入しなければなりません。

ผู้ที่เป็นผู้บริหารของบริษัท บริษัทจะต้องอยู่ในระบบกองทุนเงินสวัสดิการบำนาญและประกันสุขภาพ

⑥生計要件 เงื่อนไขด้านการดำรงชีวิต

生計要件は自分+一緒に住んでいる家族の収入で生活するのに十分なお金があるかということです。よく「貯金はいくらあれば大丈夫ですか?」と聞かれますが、 貯金は多くても少なくても関係ありません。それより安定した職業について毎月収入があることの方が重要です。毎月の給料は会社員の方は最低月18万以上くらいあれば問題ありません。
正社員でも契約社員でも派遣社員でも大丈夫です。でも今失業して無職の人はダメです。就職してから申請して下さい。会社経営者の方は役員報酬ですが、これも毎月18万くらいでも許可おります。

เงื่อนไขด้านการดำรงชีวิตหมายถึงมีเงินมากพอที่จะดำรงชีวิตด้วยรายได้ของตนเอง+ครอบครัวที่อยู่ด้วยกันหรือไม่ มักจะมีคนถามว่า “ต้องมีเงินเก็บเท่าไรจึงจะพอ” แต่เงินเก็บจะมากหรือน้อยก็ไม่เกี่ยว ที่สำคัญกว่าคือมีรายได้ทุกเดือนจากอาชีพที่มั่นคง รายได้ต่อเดือนสำหรับพนักงานบริษัทถ้ามีอย่างน้อย 1 แสน 8 หมื่นเยนขึ้นไปก็ไม่มีปัญหา จะเป็นพนักงานประจำ พนักงานสัญญาจ้าง หรือพนักงานสัญญาส่งตัวก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าตอนนี้ไม่มีงานทำจะขอไม่ได้ กรุณายื่นเรื่องหลังจากได้งานทำแล้ว ผู้ที่เป็นผู้บริหารกิจการถ้ามีผลตอบแทนกรรมการประมาณเดือนละ 1 แสน 8 หมื่นเยนก็จะได้รับอนุญาต

あとは「家は買った方が有利ですか?」という質問も多いです。これも答えとしては有利不利はありません。家は持ち家でもいいし、賃貸でも大丈夫です。審査に関係ないということです。

นอกจากนี้คำถามที่พบมากก็มี “ถ้าซื้อบ้านจะมีโอกาสมากขึ้นไหม?” คำตอบก็คือไม่ได้ทำให้โอกาสมากขึ้นหรือน้อยลง บ้านจะเป็นบ้านของตนเองหรือบ้านเช่าก็ได้ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการพิจารณา

次は思想関係です。
これは簡単に言えば日本国を破壊するような危険な考えを持っていないことということです。

ต่อไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิด
เรื่องนี้ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือต้องไม่มีความคิดเป็นอันตรายที่อาจเป็นภัยกับประเทศญี่ปุ่น

⑦ 最後7番目 ข้อสุดท้ายข้อที่ 7

日本語の読み書きができること。話せることじゃなくて読み書きです。レベルは小学校3年生レベルです。日本語能力3級くらい持っていれば全く問題はないと思います。

ต้องอ่านเขียนภาษาญี่ปุ่นได้ ไม่ใช่แค่พูดได้ แต่ต้องอ่านเขียนได้ ระดับประมาณนักเรียนชั้นประถม 3 หรือถ้าสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นได้ประมาณระดับ 3 ก็ไม่มีปัญหา

いかがでしたでしょうか?帰化の条件は確認できましたか?帰化の条件が大丈夫な人も、1,2年待たなければならない人もいたと思います。帰化申請はスタートから結果をもらうまで審査期間は10カ月から1年くらいかかります。

คุณคิดว่าเป็นอย่างไรบ้าง? ตรวจสอบเงื่อนไขการโอนสัญชาติได้หรือยัง? บางคนอาจจะเป็นไปตามเงื่อนไขการโอนสัญชาติแล้ว แต่บางคนก็อาจต้องรอ 1-2 ปี การยื่นคำร้องขอโอนสัญชาตินับตั้งแต่เริ่มต้นจนได้รับผลต้องใช้เวลาพิจารณาประมาณ 10 เดือนถึง 1 ปี

無料相談

ให้คำปรึกษาฟรี

ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับการยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหรือยื่นขอวีซ่า ขอแนะนำให้คุณลองมาปรึกษากับผู้รับรองเอกสารที่รู้เรื่องการยื่นขอวีซ่าโดยละเอียดดูก่อน การขอรับคำปรึกษาแต่เนิ่นๆ เป็นหัวใจสำคัญของการขอวีซ่าให้ผ่าน

สำนักงานกฎหมาย Samurai ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่า เราจะหาวิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของลูกค้าแต่ละรายและให้คำแนะนำไปตลอดเส้นทางจนกว่าจะได้รับวีซ่า

เราให้คำปรึกษาฟรี ลองมาปรึกษาเราสักครั้ง *การขอรับคำปรึกษาต้องจองล่วงหน้าเท่านั้น

電話で相談の申込みをする

ขอรับคำปรึกษาทางโทรศัพท์

Tokyo area: 03-5830-7919

Nagoya area: 052-446-5087

Osaka area: 06-6341-7260

受付時間内にご予約を頂ければ、夜間・土日もご相談を承ります。
受付時間:平日 9時~20時 / 土日 9時~18時 ※祝日,国民の休日,12月30日~1月3日は除く。

ถ้าจองภายในเวลาให้บริการ สามารถมาปรึกษาได้ทั้งตอนกลางคืนและวันเสาร์อาทิตย์ เวลาให้บริการ : วันธรรมดา 9:00-20:00 น. / วันเสาร์และอาทิตย์ 9.00-18.00 น. *ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดราชการ วันที่ 30 ธันวาคมถึง 3 มกราคม

Form Đăng kí qua mạng Internet